First page of the สมุนไพรรักษาโรคไต archive

สมุนไพรบำบัดรักษาโรคไต

Posted by admin on May 11, 2018 with Comments Closedas

อาการของโรคไต : ไตมีปัญหารู้ได้อย่างไร

ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หลายครั้ง มีฟองสบู่ออกมา มีตะกอน ปัสสาวะสีเข้ม ปวดหลังบริเวณไต อยู่ตรงบริเวณบั้นเอว บางครั้งปัสสาวะขัด อ่อนเพลีย เลือดจาง

เราจะดูจากปัสสาวะและอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่

ปัสสาวะเป็นเลือด มีสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ หรือ สีเหลืองเข้มก็ได้
ปัสสาวะมีฟอง เหมือนมีฟองสบู่ออกมาด้วย
ปัสสาวะขุ่นแสดงถึงไตมีอาการอักเสบหรือติดเชื้อ
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะขัด มีตะกอนในปัสสาวะ
มีอาการบวมน้ำบริเวณหนังตา หน้า ขา เท้า ให้ลองใช้นิ้วกดบริเวณที่บวมหากมีรอยบุ๋มลงไป ให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคไตควรพบแพทย์ด่วน
ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตเป็นตัวที่สร้างสารควบคุมความดันโลหิต แต่อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูงมีสาเหตุมากมาย ไตเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น
ปวดหลังบริเวณไต อยู่ตรงบริเวณบั้นเอว
ซีดหรือโลหิตจาง สาเหตุเลือดจางนั้นมีหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นก็มีโรคไต เนื่องจากไตมีหน้าที่สร้างสารไปกระตุ้นไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเป็นไตเรื้อรัง จะส่งผลให้โลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด
พบความผิดปกติของตะกอนในปัสสาวะ พบการทำงานของไตน้อยลงติดต่อกันนาน 3 เดือน

วิธีที่แพทย์ปัจจุบันใช้รักษาไตวาย

ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการล้างไต ( Dialysis ) แต่การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดปลูกเปลี่ยนไตจากคนที่บริจาคไตให้ แต่การปลูกเปลี่ยนไตมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ มีผู้บริจาคไตน้อย มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังนับร้อยนับพันคนรอการบริจาคไตอยู่ ผู้ป่วยเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการล้างไต ระหว่างที่รอการปลูกไต

การล้างไตปัจจุบันมี 2 วิธี

วิธีการล้างไตทางหน้าท้อง ( CAPD : Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis )

วิธีนี้ใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง เพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4 – 5 ครั้ง ทุกวัน วิธีนี้มีข้อดีที่ทำเองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสียเกิดการติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อทำไปนาน ๆ และมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางน้ำยามากในแต่ละวัน อาจเกิดภาวะขาดอาหารถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอ

การฟอกเลือด ( Hemodialysis )

โดยการดูดเลือดจากผู้ป่วยไปล้างเอาน้ำ และของเสียออกโดยใช้ไตเทียม (เครื่องฟอกเลือด) เลือดที่ล้างแล้วจะไหลกลับเข้ามาในตัวผู้ป่วย วิธีนี้ใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้ได้ผลดีควรฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง

จะเลือกวิธีไหนดีขึ้นอยู่กับโรคของผู้ป่วย และความพอใจของผู้ป่วย แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยทราบทั้งข้อดี และข้อเสียของทั้ง 2 วิธี และแนะนำวิธีที่เหมาะสมให้ แต่ผู้ป่วยและญาติเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอง ว่าจะล้างไตหรือไม่ แล้วเลือกล้างไตวิธีใด

สมุนไพรบำบัดรักษาโรคไต

สมุนไพรบำรุงไตสามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท ประเภทที่บำรุงไตโดยตรง และประเภทที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยขับน้ำออกจากร่างกายเหมาะสำหรับคนที่ไตมีปัญหาขับน้ำ

เห็ดหลินจือ รักษาโรคไต

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยนำเห็ดหลินจือมารักษาไตเรื้อรัง ระบุเห็ดหลินจือช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต ทางเลือกใหม่แทนกินยากดภูมิคุ้มกัน แพทย์จุฬาลงกรณ์ ศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการไตอักเสบ ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพระบบไหลเวียนโลหิตและเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต

ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 – 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้

นักวิจัย กล่าว ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis จะมีอาการเนื้อตัวบวมอย่างเห็นได้ชัด และหากตรวจเลือดและปัสสาวะจะพบภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน ส่งผลให้โปรตีนในเลือดต่ำ ปริมาณการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอ เลือดในร่างกายพร่อง ข้นหนืด ก่อให้เกิดการอุดตัน และยังมีภาวะเผาผลาญไขมันผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง ภาวะต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ไตมีการอักเสบ เสื่อม และถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายในท้ายที่สุด

หลังจากเข้าใจถึงกลไกของสาเหตุโรคไตแล้ว รศ.พญ.ดร.นริสาจึงได้นำเอาสารสกัดจากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มาทดลองกับผู้ป่วย เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบสมดุลของภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งยังได้รักษาร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดเลือดด้วย

สำหรับอาสาสมัครที่เข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะต่อเนื่อง 5 – 10 ปี กำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หลังจากรักษาได้ราว 1 ปี พบว่าภาวะเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ป่วยมีการทำงานของไตดีขึ้น ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

“ปริมาณของสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่มีคุณสมบัติในการรักษาได้นั้น จะอยู่ประมาณ 750 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด ซึ่งจะเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลศาสตร์ไหลเวียนของไตให้ดีขึ้น เพราะเลือดจะไหลเข้าสู่ไตได้มากขึ้น ทำให้ความดันภายในไตลดลง”

นอกจากนี้การบริโภคสารสกัดเห็ดหลินจือในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงใดๆ ด้วย เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีเพดานการบริโภคที่สูงมาก

เพิ่มเติม : http://www.delightpharm.com/